วิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 ส 31222

1.1 ความหมายของกฎหมาย


          กฎหมายคืออะไร? เชื่อได้เลยว่าทุกคนหรือแทบจะทุกคนในสังคมคงจะรู้จักคำๆนี้เป็นอย่างดี แต่หากจะให้อธิบายความหมายของคำนี้ หลายๆคนคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ ซึ่งจริงๆแล้วแม้แต่ในทางวิชาการก็มีการให้นิยามความหมายแตกต่างกันออกไปมาก มาย เนื่องจากเป็นการยากที่จะนิยามความหมายออกมาให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่พอจะสรุปได้ดังนี้


          กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม



          มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความ สงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนว ทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง 




1.2  ความสำคัญของกฎหมาย
          
         ปัจจุบันกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์แต่ละคน อย่างมากตั้งแต่มนุษย์อยู่ในครรภ์มารดา กฎหมายก็เข้ามารับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาพอทารกคลอดออกมาแล้วกฎหมายก็ บังคับ ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่ออายุ 15 ปี กฎหมายก็บังคับให้ต้องทำบัตรประชาชน โตขึ้นมาอีกจะแต่งงานกฎหมายก็บังคับให้ต้องจดทะเบียนสมรส พอแก่ตัวใกล้จะตาย กฎหมายก็เปิดทางให้สามารถกำหนดการเผื่อตาย โดยการทำพินัยกรรม จนกระทั่งคนตายกฎหมายก็บังคับให้ผู้พบเห็นการตายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ใน ทางเศรษฐกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจเองกฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เช่น การที่บุคคลจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรธุรกิจ ก็ต้องพิจารณาว่าจะจัดตั้งในรูปใด จะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งก็มีกฎหมายเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ เมื่อทำธุรกิจมีกำไรก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งก็เป็นเรื่องของกฎหมายอีก
เมื่อ กฎหมายเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตคนเราเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย เพื่อให้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองที่มีตามกฎหมาย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
          อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับว่าคนทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย แต่ก็มีหลักกฎหมายว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" ทั้งนี้ก็โดยเหตุเนื่องมาจากการใช้นโยบายว่าบุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นผล เพราะทุกคนต่างก็จะอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดเสมอนอกจากนี้หาก ยอมให้อ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ต้องรับผิดได้ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้คนไม่ต้องรับรู้กฎหมาย เพราะรู้กฎหมายน้อยก็รับผิดน้อย
          หลักกฎหมายที่ว่า "ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" นี้บัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ต้วว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความผิดในทางอาญาไม่ได้แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิด อาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 นี้ไม่ยอมรับเอาความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัว แต่อย่างไรก็ตามมีบางกรณีหากไม่ยอมรับฟังความไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็อาจเป็นการไม่ยุติธรรมเช่น คนต่างด้าวที่เพิ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ หรือผู้ที่อยู่ห่างไกลมากไม่สามารถทราบถึงกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่ ฉะนั้นจึงมีข้อยกเว้นให้อ้างความไม่รู้กฎหมายได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ
1) ศาลเห็นว่า
ตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ กฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และ
2) ศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น
ผล ของการอ้างความไม่รู้กฎหมายที่ครบตามเงื่อนไข 2 ประการข้างต้น ก็คือ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ แต่จะไม่ลงโทษไม่ได้ ซึ่งเท่ากับว่า แม้ข้ออ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ศาลจะเชื่อและรับฟังก็ไม่ทำให้ผู้ยก ข้ออ้างนี้หลุดพ้นจากความรับผิด ทางอาญาแต่อย่างใด


1.3  องค์ประกอบของกฎหมาย

(๑) สถาบัน (๒) ตำแหน่ง (๓) หน้าที่ (๔) อำนาจ (๕) ความรับผิดชอบ


“สถาบัน” ได้แก่ ส่วนราชการ (สถานที่ทำงาน) ที่กฎหมายตั้งขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ และ อำนาจในการปฏิบัติราชการ หรือ ทำงานของรัฐบาล มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามหน้าที่การงาน

“ตำแหน่ง” หมายความถึง ฐานะทางราชการ ของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่ และ อำนาจ ตามที่กฎหมายกำหนด มีชื่อเรียกต่างๆกันไป เช่น


“อำนาจ” หมายความถึง


๐ อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่.


๐ ความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์.


"หน้าที่" และ อำนาจ เป็นของคู่กัน และจะต้องเป็น หน้าที่ และ อำนาจตามกฎหมายเท่านั้น กฎหมายมักจะใช้เป็นคำรวมกันไป คือ “อำนาจหน้าที่”


กฎหมายจะกำหนด หน้าที่ และ อำนาจออกเป็น ๒ ประการ คือ อำนาจหน้าที่ของสถาบัน ที่เป็น ส่วนราชการ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นกรอบกว้างๆ กับ หน้าที่ และ อำนาจของบุคคล ที่เป็น ข้าราชการ หรือ เจ้าพนักงาน ที่ดำรงตำแหน่งต่างๆในส่วนราชการต่างๆ.


การปฏิบัติหน้าที่บางอย่างไม่ต้อง ใช้อำนาจ เช่น หน้าที่ทำความสะอาดสถานที่ราชการ หน้าที่ส่งเอกสาร หน้าที่ของพนักงานการพิมพ์หนังสือ เป็นต้น.

“ความรับผิดชอบ” หมายความถึง การยอมตามผลที่ดี หรือ ไม่ดีในกิจการ ที่ได้ทำไป.


     แต่ เมื่อนำไปใช้ในกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานไว้ จะหมายความถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งหมายความถึงภาระหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ให้สำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี เกิดประโยชน์ แก่ทางราชการ และปวงชนชาวไทย สมความมุ่งหมาย หรือ เป้าประสงค์ ของทางราชการ หากทำไม่สำเร็จ หรือ ทำแล้วเกิดความบกพร่องเสียหาย ก็ไม่ได้รับ ความดีความชอบ ซึ่ง อาจถูกโยกย้าย ให้พ้นจากหน้าที่ได้ หากเกิดความเสียหายเกินกว่าที่ควรจะเป็นตามความนิยม หรือ ความต้องการของสังคม หรือ ของบุคคลที่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติ ที่ในทางกฎหมายใช้คำว่า "วิญญูชน" อาจต้องมีความผิดทางวินัย หรืออาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานละเมิดได้ หากกระทำการใดๆอันเข้าลักษณะที่กฎหมายถือว่าเป็นการทำละเมิด ยิ่งกว่านั้น หากการกระทำเข้าลักษณะที่กฎหมายอาญา บัญญัติว่าเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ ก็ต้องรับโทษทางอาญาอีกด้วย

1.4 ประเภทของกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4. พระราชกฤษฎีกา
5. กฎกระทรวง
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็น จริง
2. พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ
3. พระราชกำหนด มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ เท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิด สมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อ ไป แต่จะไม่กระทบกระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก
5. กฎกระทรวง มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันที
สำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก



1.5 ศักดิ์ของกฎหมาย hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย
          การจัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย
          เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
          สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออก กฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
          ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็น กฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย
          มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่า ด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
          กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติแต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราช บัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ
          พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็น กฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา
          พระราชกำหนด เป็น กฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีเพื่อ ให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้ พระราชกำหนดนั้น
          พระราชกฤษฎีกา เป็น กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความใน รัฐธรรมนูญ
          กฎองค์การบัญญัติ เป็น กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติชั่วแต่ว่า ใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น
          กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน
          รองศาสตราจารย์ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อ พระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง
ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
          1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้
          2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
          3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น